หลักการออกแบบฉลากเครื่องสำอาง

ขวดซอสซึ่งพิมพ์ปริมาณบรรจุที่ฉลากไว้ว่า CONTENT 237 ML ไปหาผู้จัดการของร้าน แล้วถามว่า “คุณคิดว่าซอสขวดนี้จะจุได้ 237 ล้านลิตรเชียวหรือครับ?” ผู้จัดการยืนงงอยู่สักครู่แล้วก็ถึงบางอ้อ เลยรีบขอโทษในความผิดพลาดอันเนื่องจากการใช้ตัวย่อของหน่วยผิด เพราะความจริงฉลากของซอสขวดดังกล่าวต้องพิมพ์ CONTENT 237 mL ซึ่งหมายความว่าความจุของซอสในขวดเป็น 237 มิลลิลิตร บทความนี้ผู้เขียนใคร่ขอนาเสนอสาระของการใช้ตัวย่อของหน่วยที่ปรากฏอยู่ที่ฉลากของสินค้า โดยจะครอบคลุมตัง้ แต่ระบบของหน่วย ตัวย่อของหน่วย และหลักการใช้ตัวย่อของหน่วย ระบบของหน่วยแบ่งได้เป็น 2 ระบบใหญ่ๆ คือ ระบบเมตริกและระบบอังกฤษ ในปัจจุบันระบบเมตริกได้รับความนิยมอย่างสูงแทบทุกประเทศ จนถือได้ว่าเป็นหน่วยสากลระหว่างชาติ และได้รับการกาหนดไว้ใน System International d’ Unites หรือรู้จักกันในชื่อสั้น ๆ ว่าหน่วย SI ส่วนหน่วยระบบอังกฤษนั้น ในปัจจุบันยังคงนิยมใช้ในประเทศสหรัฐอเมริกาอยู่ แม้ว่าจะมีการแนะนาให้เปลี่ยนมาใช้ระบบเมตริกตัง้ แต่ 1 ตุลาคม 2535 แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จเท่าใดนัก สินค้าที่จาหน่ายในสหรัฐอเมริกายังมีการใช้หน่วยระบบอังกฤษอยู่อย่างมาก และบางครัง้ ทาความสับสนให้กับผู้บริโภคที่มิใช่คนอเมริกันอย่างเช่นพวกเราการเปลี่ยนหน่วยระบบอังกฤษมาเป็นระบบเมตริก เช่น ความจุที่เคยเป็นออนซ์ (ounce) เปลี่ยนเป็นมิลลิลิตร (millilitre) ความจุที่เคยเป็นควอท (quart) เปลี่ยนเป็นลิตร (litre) น้าหนักจากปอนด์ (pound) เปลี่ยนเป็นกรัม (gram)หรือกิโลกรัม (kilogram) ความยาวจากนิ้ว (inch) หรือ หลา(yard) เปลี่ยนเป็นเซนติเมตร(centimetre) หรือ กิโลเมตร(kilometre)
หลักการใช้ตัวย่อของหน่วยในภาษาอังกฤษ

      1. ปริมาณบรรจุที่นิยมใช้ คือ ปริมาตรเป็นลิตร   (litre) ใช้ตัวย่อว่า L หรือ l ก็ได้ น้าหนักเป็นกรัม (gram) ใช้ตัวย่อว่า g
      2. อักษรนำหน้าหน่วย บ่งบอกถึงจำนวนเท่า เช่น มิลลิ (milli) ใช้ตัวย่อว่า m หมายถึง 1/1000 เท่า กิโล (kilo) ใช้ตัวย่อว่า k หมายถึง1000 เท่า เมกกะ (mega) ใช้ตัวย่อว่า M หมายถึง 1,000,000 เท่า มิลลิลิตร (millilitre) ต้องใช้ตัวย่อว่า ml หรือ mL เท่ากับ 1/1000 ลิตร กิโลกรัม (kilogram) ต้องใช้                    ตัวย่อว่า kg เท่ากับ 1000 กรัม เมกกะลิตร (megalitre) ต้องใช้ตัวย่อว่า Ml หรือ ML เท่ากับ 1,000,000 ลิตร
      3. ระหว่างตัวเลขและตัวย่อของหน่วย ต้องมีช่องว่างเสมอ จะเขียนติดกันเลยไม่ได้
              ถูก : 237 mL 237 ml 50 kg 300 g 3 L
              ผิด : 237mL 237ml 50kg 300g 3L
     4. ตัวย่อของหน่วยไม่มีรูปเป็นพหูพจน์ คือ ไม่มีการเติม “S” แม้ว่าปริมาณจะมากกว่า 1 ก็ตาม
            ถูก : 250 ml 20 kg 300 g
            ผิด : 250 mls 20 kgs 300 gs
    5. ท้ายของตัวย่อไม่มีจุด ถูก : g l kg ml ผิด : g. l. kg. ml.
             เป็นที่น่าสังเกตว่า นักออกแบบฉลากของบรรจุภัณฑ์บางท่านยังใช้ตัวย่อที่ผิด ดังตัวอย่างต่อไปนี ้ML ต้องการให้หมายถึง milliliter
            ผิด เพราะ ML หมายถึง megalitre ซึ่งมีค่า 1 ล้านลิตร
            KG ต้องการให้หมายถึง kilogram ผิด เพราะ KG หมายถึง Kelvin-giga Kelvin เป็นหน่วยของอุณหภูมิ ส่วน giga หมายถึง 1 พันล้าน
            G ต้องการให้หมายถึง gram ผิด เพราะ G หมายถึง giga ซึ่งเท่ากับ 1 พันล้าน ตัวอย่างตัวย่อของหน่วยที่เขียนผิด และมักพบเห็นบ่อย
             gm gms grm grms GM GM. Kg Kgs KG KGS ML. MLS


        สำหรับหน่วยในภาษาไทย ท้ายของตัวย่อของหน่วยต้องมีจุดเสมอ ถ้ามีพยัญชนะ 2 ตัว จะไม่มีจุดระหว่างพยัญชนะ เช่น มิลลิลิตร ต้องใช้ตัวย่อว่า มล. ลิตร ต้องใช้ตัวย่อว่า ล. กิโลกรัม ต้องใช้ตัวย่อว่า กก. กรัม ต้องใช้ตัวย่อว่า ก. ลูกบาศก์เซนติเมตร ต้องใช้ตัวย่อว่า 〖ซม.〗^3 มิลลิเมตร ต้องใช้ตัวย่อว่า มม. เซนติเมตร ต้องใช้ตัวย่อว่า ซม.   ในประเทศไทยได้มีกฎหมายเฉพาะที่ควบคุมความสูงของตัวอักษรหรือตัวเลขของปริมาณบรรจุที่ต้องแสดงไว้ที่บรรจุภัณฑ์ทุกหน่วย แม้ว่ากฎหมายนี้จะไม่ใช่เรื่องของหน่วยโดยตรง แต่ก็มีการใช้กับหน่วยของปริมาณบรรจุ จึงขอสรุปมา ณ ที่นี้   กระทรวงพาณิชย์ได้ประกาศเรื่อง “กำหนดชนิดของสินค้าหีบห่อ หลักเกณฑ์ และวิธีการแสดงปริมาณของสินค้าและอัตราเผื่อเหลือเผื่อขาด”   ในปี พ.ศ.2550 ดังสรุปในตารางข้างล่างนี้การแสดงปริมาณของแต่ละหีบห่อ ปริมาณที่แสดง (กรัม หรือมิลลิลิตร) ความสูงของตัวอักษรและตัวเลข ต้องไม่น้อยกว่า (มิลลิลิตร) ไม่เกิน    50 2 เกิน 50 แต่ไม่เกิน 200 3 เกิน 200 แต่ไม่เกิน 1,000 4 เกิน 1,000 6   การแสดงปริมาณของหีบห่อรวม ปริมาณที่แสดง (กรัม หรือ มิลลิลิตร) ความสูงของตัวอักษรและตัวเลข ต้องไม่น้อยกว่า (มิลลิลิตร) ไม่เกิน 50 3 เกิน 50 6   หลักเกณฑ์ของการใช้ตัวย่อของหน่วยที่กล่าวมานี้เป็นสิ่งไม่ยาก และน่าจะเป็นประโยชน์กับท่านผู้อ่านบ้าง โดยเฉพาะท่านผู้ประกอบการผลิตสินค้า และนักออกแบบฉลากทัง้ หลาย โปรดให้ความสนใจกับการใช้ตัวย่อของหน่วยบนฉลากซึ่งดูเหมือนเป็นสิ่งเล็กๆน้อยๆ แต่ถ้าผิดพลาดขึ้น มาก็คงจะน่าอายเหมือนกัน เพราะข้อความ Product of Thailand และ ชื่อบริษัทของท่าน ซึ่งปรากฏบนสินค้านั้น จะฟ้องตัวเองอย่างชัดเจน

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้